Sign In
Sign-Up
Welcome!
Close
Would you like to make this site your homepage? It's fast and easy...
Yes, Please make this my home page!
No Thanks
Don't show this to me again.
Close
ชื่อไทย
แก้มช้ำ ขาวสมอมุก ปก ปกส้ม ลาบก หางแดง
ชื่อสามัญ
RED - CHEEK BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Systomus orphoides
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปตามแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่ง ในแม่น้ำลำคลอง หนองและบึง มีชื่อเรียกแตกต่างเป็นหลายชื่อตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคกลางเรียกปลาแก้มช้ำ ภาคใต้เรียกปลาลาบก ภาคเหนือเรียกปลาปก ส่วนชื่อปลาขาวสมอมุก เรียกกันในแถบภาคอีสาน ลักษณะทั่วไป รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนแต่ป้อมกว่า ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้นและเล็ก 2 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าแฉก มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและส่วนหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน กระพุ้งแก้มมีแต้มสีส้มหรือแดงเรื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีแถบสีดำ ครีบหลัง ครีบก้นครีบท้องสีแดงเรื่อ ครีบหางสีแดงสดจะมีแถบสีคล้ำทั้งขอบบนและล่าง ที่โคนหางมีจุดกลมสีคล้ำ
การสืบพันธ
ุ์
สามารถเพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมน หลังฉีดปลา 3 ชั่วโมง ปลาตัวผู้จะเริ่มคลอเคลียตัวเมีย จึงจับมาทำการผสมเทียมแบบแห้ง แล้วนำไปฟักโดยให้เกาะติดพันธุ์ไม้น้ำหรือรังเทียม จะใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 20 - 22 ชั่วโมง หรือเพาะโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยฉีดฮอร์โมนแล้วปล่อยให้ผสมกันเอง ซึ่งตัวเมียจะเริ่มวางไข่หลังฉีดฮอร์โมน 5 - 6 ชั่วโมง ไข่มีลักษณะกลม เป็นไข่ติด สีเหลืองใส
อาหารธรรมชาต
ิ กินแมลง ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
การแพร่กระจาย - สถานภาพ
(ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ